บ้านเจ้าเมืองที่…ยะลา
แกะรอยประวัติศาสตร์ จ.เด่นอุดม
อังกูสุลัยมาน บิน
อังกูมูฮัมมัดซอและห์ เจ้าเมืองยะลา
ทิศตะวันตกของแม่น้ำปัตตานีมีเมืองๆหนึ่งซึ่งได้แยกตัวออกมาจากปัตตานีเมือปี
พ.ศ. 2359 เรียกว่า “เมืองยะลา” แต่เมืองนี้มีเจ้าเมืองปกครองมาแล้วนานกว่านั้น
ยะลานั้นมีความหมายจากภาษามลายู ว่า Jalur หมายถึง แห หรือตาข่าย หรือเป็นลาย
เมืองนี้ขณะอยู่ภายใต้ปัตตานีมีอาณาเขตที่กว้างขวาง
ทิศตะวันออกจรดเมืองรามันที่แม่น้ำปัตตานี ทีศตะวันตกจรดรัฐเคดะห์
ทิศใต้จรดรัฐเปรัค และ ทิศเหนือจรดสงขลาหรือสะบ้าย้อย
รายได้หลักของเจ้าเมืองยะลาคือ เหมืองแร่
ในตำนานกล่าวว่า มีเหมืองแร่ที่สำคัญของเจ้าเมืองยะลาก็คือ เหมืองคิดะ
เหมืองลาบู เหมืองบาเร๊ เหมืองบายอและเหมืองแมะบุหลัน
เจ้าเมืองยะลา ที่ได้การแต่งตั้งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
คือ
1.
ต่วนยาลอ
มีตำแหน่งเป็นพระยายาลอ
2.
ต่วนบางกอก
3.
นสยยิ้มซ้าย
หรือ หลงสวัสดิ์ภักดี
4.
นายเมือง
5.
อังกู
อับดุลเลาะห์
6.
อังกูมูฮัมมัด
ซอและห์
7.
อังกูสุลัยมาน
เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2451
อังกูสุลัยมาน บิน อังกูมูฮัมหมัดซอและห์
เป็นเจ้าเมืองยะลาทีมีความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ท่านเป็นผู้รักธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมท่านเคยปฏิเสธผลประโยชน์มหาศาลที่ชาวต่างชาติจะกำนัลให้
เพื่อแลกกับการเข้ามาระเบิดภูเขา เพื่อค้นหาสินแร่ ในเขตเหมืองยะลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการปกครองอันจะก่อความสูญเสียแก่ทรัพยากรธรรมชาติและทัศนีย์ภาพอย่างไม่คุ้มค่า
ตลอดจนให้สัตว์ป่าที่มีจำนวนมากในสมัยนั้น ต้องตายและหนีตายทีอื่น
ท่านได้เป็นผู้ขูดคูลองระบายน้ำจากเทือกสันกาลาคีรีลงในที่ราบ
ส่งเสริมให้ประชาชนทำนาเพื่อการบริโภคเอง และนำออกจำหน่วยเป็นรายได้เลี้ยงชีพ
ราษฏรที่ยากจน ไม่มีที่ทำกิน
ท่านได้แบ่งส่วนหนึ่ง เพียงเล็กน้อยแต่ให้ประชาชนได้มีข้าวบริโภคอย่างไม่เดือดร้อน
ท่านนิยมที่จะให้มีการจับช้าง
เลี้ยงช้าง ขยายพันธุ์ เพื่อใช้ขนส่งแร่ดีบุก และเมื่อมีช้างจำนวนมากเหลือใช้
ก็จำหน่ายขายไปเพื่อเป็นรายได้
บ้านหลังที่หนึ่งของอังกูสุลัยมานเจ้าเมืองยะลา
ตั้งอยู่ที่ บ้านยะลา ซึ่งเจ้าเมืองเคยใช้เนที่ว่าการและพักอาศัยอยู่กับตนกูฟาตีเมาะห์
ภรรยาซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเมืองรามัน หลังจากท่านเสียชีวิติ
บ้านได้ทรุดโทรมจนจนต้องรื้อถอนออกไปแล้วสร้างขี้นใหม่ คงเหลือแต่บ่อน้ำ
อยู้กลางบ้านซึ่งเคยเป็นที่อาบน้ำของท่านเจ้าเมืองและคนในครอบครัวในอดีต
เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ให้ลูกหลานได้เห็น
บ้านอีกหลังหนึ่งของอังกูสุลัยมานตั้งอยู่ที่บ้านบือนังบารู
ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
บ้านหลังนี้เป็นบ้านทีอังกูสุลัยมาน
เจ้าเมือง อาศัยอยู่กับอินเจ๊ะ ฟาตีเมาะห์ ภรรยาอีกคนหนึ่ง จนท่านถึงแก่กรรมที่นี่และเป็นบ้านหลังสุดท้ายที่ยังคงเหลือสภาพ
“บ้านเจ้าเมืองยะลา”
เดิมบ้านนี้มีจำนวน3 หลังติดต่อกัน
หลังแรกเป็นส่วนที่อยู่ด้านทิศเหนืออันเป็นที่สำหรับว่าราชการของทานเจ่าเมือง
ซึ่งเรียกว่า “บาลา แลแต หรือ Balai lintang” มีความหมายว่า ศาลาขวางตะวัน(ทิศตะวันออก- กับตะวันตก) ส่วนที่สองคือส่วนกลาง
เป็นส่วนสำหรับเป็นทีพักอาศัยและหลับนอน
และส่วนที่สามเป็นส่วนที่ใช้ในการประกอบเลี้ยง หรือโรงครัว
บ้านหลังนี้มีอายุกว่า
100 ปี หลังจากที่เจ้าเมืองยะลา อังกูสุลัยมาน
ได้ล่วงลับไปแล้ว ได้มีการตกทอดมายังลูกหลานทีเกิดจาก อินเจ๊ะฟาตีมะห์ คือ
อังกูมันโซร์ จนกระทั่งตกเป็นของ อังกูมะหมูด บินอังกูมันโซร์
ซึ่งเป็นทายาทคนสุดท้ายในปัจจุบัน
ระยะเวลากว่า 100 ปีกว่า ทีบ้านหลังนี้ได้เป็นสถานที่ว่าราชการ และ
พักผ่อนของอดีตเจ้าเมืองยะลา และลูกหลานของท่าน 3 ชั่วอายุคน
โดยไม่ได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชน เพือการบูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพทีดีเหมือนกับทีสถานที่อื่นๆ
บ้านหลังนี้ถูกปล่อยให้ทรุดโทรมและพังทลายลงทีละหลัง
จนเหลือเสาตัวบ้าน
มัสยิดกลางของตำบลเปาะเส้ง มีสุสานอยู่ทางทิศเหนือ
และสุสานตรงนี้ได้เป็นสถานที่ ฝังร่างของท่าน อังกูสุลัยมาน บิน
อังกูมูฮัมมัดซอและห์ เจ้าเมืองยะลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น